ต้นไม้ดูดสารพิษในอากาศ
สภาพอากาศปัจจุบัน ที่มีปัญหาในเรื่องของฝุ่นและมลพิษต่างๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย หลายคนจึงหาวิธีการป้องกันในหลายรูปแบบ วันนี้เราจึงมี 6 ต้นไม้ที่ช่วยดูดสารพิษภายในอากาศ ที่สามารถนำมาปลูกได้ที่บ้าน มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ
1. ต้นบอสตันเฟิร์น
ปัจจุบันเป็นพืชที่นิยมนำมาตกแต่งบ้าน ด้วยรูปทรงมีเอกลักษณ์ สวยงาม โดยเป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้น ฉะนั้นควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการขาดน้ำ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และร่วงหล่นลง
ข้อดี เป็นพืชที่ช่วยดูดสารพิษได้ดี โดยเฉพาะสารจำพวกฟอร์มาดีไฮด์ อีกทั้งยังช่วยทำความสะอาดอากาศบริเวณภายในอาคารหรือภายในบ้านได้อีกด้วยค่ะ
2. ต้นไอวี่
ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ที่สามารถปลูกได้ง่าย ทนต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็น แสงแดดส่องถึง แดดรำไร และ อากาศแห้ง นิยมนำมาปลูกภายในอาคาร ซึ่งมีความสวยงามแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ข้อดี ช่วยลดมลพิษภายในอากาศ จำพวกฟอร์มาดีไฮด์ค่ะ
3. ต้นเบญจมาศ
เป็นต้นไม้ที่ชอบแดดจัดหรือกึ่งแดด และเป็นพืชที่ต้องการน้ำค่อนข้างมาก เหมาะสำหรับการปลูกไว้บริเวณระเบียงหรือริมรั้วภายในบ้าน ในส่วนของดอกจะมีหลากหลายสีสัน ที่ให้ทั้งความสดชื่นและสวยงาม
ข้อดี ไม่ได้มีดีแค่เรื่องความสวยงามเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถดูดสารพิษต่างๆ จำพวก ฟอร์มัลดิไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนียได้ค่ะ
4. ต้นแก้วกาญจนา
สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ไม่ค่อยมีเวลา Infinity Design ผ้าม่าน ขอแนะนำเป็นต้นแก้วกาญจนานี้เลย เพราะดูแลง่าย ทนทาน แม้จะมีแสงสว่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถเจริญเติบโตได้
ข้อดี สามารถดูดสารพิษภายในบ้านได้ในระดับปานกลาง แต่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการคายความชื้นที่ค่อนข้างสูงค่ะ
5. ต้นกวักมรกต
ต้นไม้มงคล ที่มีความเชื่อว่า หากนำมาปลูกจะช่วยส่งเสริมเรื่องโชคลาภ กวักเงินกวักทองเข้ามายังภายในบ้าน โดยต้นกวักมรกตนี้ เป็นต้นไม้โชว์ใบ ที่มีความสวยมันวาว ชอบอยู่ในที่แสงน้อย และสามารถดูแลได้ง่าย นิยมนำมาปลูกภายในบ้านหรือภายในอาคาร
ข้อดี นอกจากเป็นต้นไม้มงคล ที่มีความหมายดีแล้ว ยังสามารถช่วยดูดสารพิษที่อยู่ในอากาศได้อีกด้วยค่ะ
6. ต้นเขียวหมื่นปี
ปิดท้ายด้วยต้นเขียวหมื่นปี ที่มีใบใหญ่สวยงาม ทนต่อความแห้งแล้ง ชอบอยู่ในที่ร่ม และด้วยความสวยงาม ดูแลง่าย จึงเป็นต้นไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำมาปลูกไว้ภายในอาคารหรือภายในบ้าน
ข้อดี มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวกฟอร์มัลดีไฮด์ที่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในกาวและสารเคลือบเฟอร์นิเจอร์ค่ะ
ขอบคุณแหล่งที่มา http://www.infinitydesign.in.th
No comments:
Post a Comment